วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Dwarf-Shrimp

DWARF-SHRIMP

Dwarf Shrimp จัดอยู่ในกลุ่มกุ้งขนาดจิ๋ว ซึ่งกินตะไคร่น้ำเป็นอาหารหลัก ขนาดลำตัวนั้นจะไม่ใหญ่โตไปกว่า4cm ส่วนมากแล้วจะมีsizeลำตัวแค่2.5cmเท่านั้น กุ้งตัวเล็กพริกขี้หนูเหล่านี้ เลื่องชื่อในสีสันของลำตัวที่สดใสงดงาม โดยปัจจุบันมีการคัดแยกสายพันธ์กุ้งแคระได้มากกว่า120สายพันธุ์ แต่ถ้านับเฉพาะกุ้งแคระที่พบได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติแล้ว คงมีไม่กี่สิบชนิดเท่านั้น เพราะกุ้งแคระที่มีสีสันสวยงามส่วนใหญ่ เกิดจากากรคัดเลือกสายพันธุ์(selective breeding)โดยมนุษย์ทั้งสิ้น นักเลี้ยงกุ้งสวยงามในต่างประเทศที่มีความสนใจในสัตว์น้ำตัวน้อยเหล่านี้ นำพวกกุ้งแคระทั้งหลายมาขยายพันธุ์ขึ้นในที่เลี้ยงและพัฒนาสายพันธุ์ให้มีสีสันลวดลายสวยงามมากขึ้นในปัจจุบัน กุ้งแคระในธรรมชาตินั้นจะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในโซนทวีปเอเชียตะวันออก เช่น จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น และทางเอเชียใต้ 
อย่างอินเดีย และศรีลังกา รวมถึงไทยเราเองก็มีการค้นพบกุ้งแคระ
ในธรรมชาติด้วยเช่นกัน

ตู้เลี้ยง
ขนาดตู้ที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้งแคระนั้น ก็ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวอะไร ตู้ใบเล็กจิ๋วขนาดไม่กี่นิ้วก็สามารถเลี้ยงกุ้งแคระได้ หรืออาจจะเลี้ยงในตู้ไมน้ำนาโน ทรงลูกบาศก์ขนาด1ฟุต ตกแต่งด้วยพรรณไม้น้ำสวยงาม ก็กำลังเป็นที่นิยม ตู้เลี้ยงที่มีขนาดใหญ่โตก็เหมาะสมดีเช่นกัน เพราะว่าตู้เลี้ยงจะมีปริมาตรน้ำมากพอที่จะรองรับปริมาณของเสีย รักษาค่าต่างๆของน้ำ และอุณหภูมิให้ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะว่ากุ้งแคระนั้นค่อนข้างsensitiveต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของอุณหภูมิและค่าไนเตรท ไนไตรท์ การเลี้ยงในตู้ใบเล็กจึงเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ เป็นเหตุให้กุ้งอ่อนแอและตายได้ง่าย กุ้งแคระส่วนมากชอบค่าphเป็นกรดอ่อนph6.5-7 ซึ่งการใส่ขอนไม้ลงไปในตู้เลี้ยงอาจจะช่วยเรื่องค่าphได้ และขอนไม้ยังเป็นแหล่งอาหารของกุ้งแคระด้วย ในธรรมชาติแล้วกุ้งแคระเหล่านี้ จะอาศัยอยู่ตามลำธารของน้ำตกสูง ที่ตั้งอยู่ตามทำเลค่อนข้างห่างไกล ซึ่งความบริสุทธิ์ของน้ำยังปลอดภัยจากมลพิษในเมือง ด้วยเหตุที่แหล่งอยู่อาศัยตามธรรมชาตินั้นห่างไกลจากทะเล จึงทำให้กุ้งแคระเหล่านี้ไม่ค่อยค่อยชอบความเค็มเสียเท่าไหร่ ผู้เลี้ยงไม่ควรใส่เกลือลงในตู้เลี้ยง

การตกแต่งตู้เลี้ยง
ในตู้เลี้ยงกุ้งแคระ ควรจะมีพืชน้ำบ้างเพื่อให้เป็นที่หลบซ่อนสำหรับพ่อแม่กุ้ง และเป็นที่หลบภัยสำหรับตัวอ่อนไว้สักหน่อย พืชน้ำที่นิยมใช้กันคือชวามอส กุ้งแคระนั้นชอบชวามอสมาก เพราะเป็นทั้งที่หลบซ่อนและเป็นอาหารโปรดด้วย กุ้งมักจะไปเกาะเก็บกินอาหารตามดงชวามอส ชวามอสที่ขายกันเป็นขอนๆมาใส่เลยก็สะดวกดี หรือจะซื้อแบบที่เป็นขยุยๆ หรือเป็นแผ่นมาตกแต่งตู้เลี้ยงก็ได้ การใส่ขอนไม้ลงไปในตู้เลี้ยงนั้นจะช่วยเรื่องสภาพน้ำที่เป็นกรดอ่อนๆ และเป็นแหล่งอาหารอย่างดีสำหรับกุ้งแคระ

ระบบกรอง
ระบบกรองนั้นค่อนข้างจำเป็นมากสำหรับการเลี้ยงกุ้งแคระ เพราะว่าเมื่อคุณภาพน้ำเริ่มลดต่ำลง กุ้งแคระจะตายได้ง่ายและรวดเร็วมาก เนื่องจากกุ้งแคระนั้นsensitiveต่อปริมาณแอมโมเนียไนเตรทและไนไตรท์อย่างที่สุด ระบบกรองอาจจะใช้กรองแขวนหลังตู้ เลือกซื้อให้มีปริมาณน้ำหมุนเวียนพอดีกับความจุของตู้ แต่อย่าให้มีกระแสน้ำที่รุนแรงเกินไปเพราะอาจจะกลายเป็นวันน้ำวนสำหรับกุ้งน้อยๆได้ ระบบกรองข้างนั้นก็สามารถใช้ได้ เพราะกุ้งแคระนั้นจะเป็นกุ้งที่ค่อนข้างชอบเกาะกับกรวดทรายรองตู้ หรือกิ่งไม้ขอนไม้ และพรรณไมน้ำ ไม่ค่อยว่ายไปในกรองข้าง แต่ในกรณีที่ต้องการเพาะพันธุ์กุ้งแคระ ก็อาจจะปิดกรองข้างแล้วใช้กรองฟองน้ำในช่วงเวลาที่กุ้งแคระตั้งท้องเป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันลูกกุ้งน้อยๆ จะไถลเข้าไปในระบบกรองเสียหมด แต่ถ้าจะให้ว่ากันจริงๆสำหรับระบบกรองแบบฟองน้ำนั้นก็เพียงพอแล้ว สำหรับกุ้งแคระชนิดที่เลี้ยงง่ายอย่างกุ้งเชอรี่, กุ้งพินอคคิโอ ไม่มีความจำเป็นต้องซื้อกรองนอก กรองถังเครื่องละหลายตังค์ แต่ถ้ากุ้งแคระที่ค่อนข้างsensitiveอย่างกุ้งคริสตัลเรด หรือBee Shrimp ระบบกรองที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดของเสีย และรักษาคุณภาพน้ำอย่างกรองนอก หรือกรองข้างจะดูเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า

ซิลเลอร์หรือเครื่องทำความเย็น
จากที่กล่าวมา กุ้งแคระหลายสายพันธุ์ที่มาจากแถบเอเชียตะวันออก อย่างญี่ปุ่นหรือประเทศจีนนั้น ต้องการอุณหภูมิน้ำที่ค่อนข้างเย็น ซึ่งควรอยุ่ที่ประมาณ25-28องศา เพราะฉนั้นการเลี้ยงกุ้งแคระเหล่านั้นให้ได้ในระยะยาวในประเทศเมืองร้อนอย่างบ้านเรานั้น ชิลเลอร์สามารถช่วยได้เยอะเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้กุ้งคริสเตัลเรดหรือบีชริมนั้น จึงเหมาะสำหรับเลี้ยงในตู้ไม้น้ำที่ตกแต่งไว้อย่างสวยงามอลังการ มีการติดตั้งชิลเลอร์ไว้อย่างเพียบพร้อม

แสง
ตู้เลี้ยงควรได้รับแสงเพื่อให้เกิดตะไคร่เพื่อเป็นอาหารหลัก และอาหารตามธรรมชาติของเหล่ากุ้งตัวน้อย แต่ข้อควรระวังเมื่อติดดวงไฟสำหรับให้แสงสว่างคือ กุ้งแคระเป็นกุ้งที่อาศัยในน้ำที่มีอุณหภูมิค่อนข้างเย็น ระหว่าง21-28องศา เพราะฉนั้นตู้ที่รับแสงไฟหรือแสงแดดตลอดเวลา อาจจะทำให้น้ำร้อนและเป็นสาเหตุให้กุ้งตายได้ สรุปคือแค่จัดให้มีแสงเพียงพอเพื่อให้พืชน้ำเจริญเติบโตได้ และระวังอุณหภูมิที่สูงเกินไป



อาหารการกิน
นอกจากกุ้งแคระจะเก็บตะใคร่ตามขอนไม้ ซากใบ รากไม้ของพืชน้ำ เศษอาหารตามพื้นตู้กินเป็นหลักแล้ว อาหารสำเร็จรูปเป็นอีกทางเลือกที่ผู้เลี้ยงสามารถเลือกใช้ได้ อาหารสำเร็จรูปที่ให้ควรเป็นชนิดจมเพราะกุ้งแคระจะไม่ค่อยว่ายขึ้นมากินอาหารที่ผิวน้ำ อาหารที่แนะนำคืออาหารเม็ดจมสำหรับปลาแพะ และสำหรับปลาซักเกอร์ กุ้งแคระจะชื่นชอบมาก เพราะในอาหารเหล่านี้มีส่วนผสมของสาหร่ายและตะไคร่ ซึ่งเป็นอาหารตามธรรมชาติของกุ้งอยุ่แล้ว นอกจากนี้อาหารสำเร็จรูปชนิดกึ่งจมกึ่งลอยที่มีส่วนผสมของสารเร่งสี จะทำให้กุ้งมีสีสันจัดจ้านสวยงามมากขึ้นด้วย ข้อควรระวังคืออาหารสำเร็จรูปเหล่านี้ ไม่ควรให้เยอะจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้น้ำเน่าเสียทำให้กุ้งตายได้ เพียงแค่อาหารไม่กี่เกล็ดหรืออาหารเม็ดจมหนึ่งแผ่น ก็เพียงพอสำหรับกุ้งน้อยทั้งฝูงแล้ว เพราะในตู้เลี้ยงก็มีอาหารตามธรรมชาติเพียงพอสำหรับกุ้งแคระแล้ว อย่างที่เราสามารถเห็นได้ว่า เจ้ากุ้งน้อยใช้ก้ามจิ๋วๆหยิบคีบตะกอนต่างๆตามพื้นตู้ กินเป็นอาหารได้ตลอดเวลา หรือสามารถใช้ผักขมหรือคะน้าลวกพอสุกแล้วจุ่มลงไปให้กุ้งแทะเล็มก็ได้ แต่ต้องระวังเรื่องน้ำเน่าเสีย ต้องทำการเปลี่ยนผักชิ้นใหม่ให้ทุกวัน

การเปลี่ยนน้ำ
การเปลี่ยนน้ำ10-20%แค่อาทิตย์ละครั้งก็เพียงพอ การทำความสะอาดตู้บ่อยเกิน หรือสะอาดเกินไม่ดีสำหรับกุ้งแคระ เพราะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำฉับพลันมากไป หรือถ้าเราใช้สายยางดูดสิ่งสกปรกตามพื้นตู้บ่อยเกินไป อาหารที่เป็นประโยชน์ตามธรรมชาติสำหรับกุ้งอย่างเช่น ซากพืชน้ำ, ตะไคร่ที่เกาะตามพื้นกรวด จะถูกดูดออกไปหมด ปล่อยก้นตู้ไว้ดูรกๆเขรอะๆนั้น ยังเป็นประโยชน์สำหรับลูกกุ้งไว้หลบซ่อนตัว ควรเปลี่ยนน้ำทีละน้อยๆแต่บ่อยๆจะเหมาะสมกว่า

การเลี้ยงรวมกับปลาสวยงาม
การเลี้ยงรวามกับปลาสวยงามนั้น ควรเลือกเลี้ยงรวมกับปลาขนาดเล็กที่มีนิสัยเรียบร้อยไม่ก้าวร้าว เช่นพวกแตตร้า พวกปลาซิวขนาดเล็กจิ๋ว ส่วนปลาสวยงามที่กินอาหารที่มีชีวิตเป็นอาหาร หรือมีสัญชาตญาณนักล่า อย่างปลาหมอแคระชนิดต่างๆ ปลาหมู ปลาปักเป้า ควรหลีกเลี่ยง
การเพาะพันธุ์
ตู้ที่ใช้ขยายพันธุ์กุ้งแคระนั้น อาจเป็นตู้เดียวกะตู้เลี้ยงได้เลย ไม่ต้องแยกต่างหากให้ยุ่ง หลังจากที่เตรียมตู้แล้ว ก็สามารถปล่อยกุ้งลงเลี้ยงได้เลย สีสันของตัวผู้และตัวเมียค่อนข้างเหมือนกัน เรื่องสีสันลำตัวไม่สามารถนำมาเป็นเกณฑ์แบ่งแยกเพศได้อย่างแน่นอน ดูเรื่องสรีระร่างกายนั้นค่อนข้างจะworkกว่าเยอะ โดยกุ้งแคระตัวผุ้จะมีลำตัวผอมบางและยาว มีขนาดลำตัวเล็กกว่าตัวเมีย สำหรับตัวเมียจะอ้วนป้อมและมีขนาดโตเต็มที่ใหญ่กว่า เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันจะเห็นได้ว่ากุ้งแคระตัวผู้จะมีช่วงขาที่ยาวกว่า เพราะกุ้งตัวเมียจะมีเปลือกที่ยาวกว่า เพื่อไว้ห่อหุ้มขาว่ายน้ำซึ่งเป็นอวัยวะที่โอบอุ้มไข่เวลาตั้งท้อง วิธีเลือกซื้อกุ้งแคระตัวเมียที่ง่ายและชัวร์ที่สุดคือ สังเกตใต้ท้องว่าถ้ามีไข่ใต้ท้องละก็ตัวเมียชัวร์ ตามธรรมชาติแล้วกุ้งแคระจะอาศัยอยู่รวมกันเป็นชุมชนหนาแน่น เพราะฉนั้นควรเลี้ยงเป็นกลุ่มเล็กๆอย่างน้อย7-10ตัว นอกจากนี้การซื้อกุ้งแคระทีละเยอะๆยังช่วยเพิ่มความมั่นใจว่าได้ทั้งผู้และเมียมา เมื่อกุ้งแคระมีความพร้อมที่จะผสมพันธุ์ มันจะจัดการกันเองโดยธรรมชาติไม่ต้องไปเตรียมอุปกรณ์จัดให้ ไข่ของกุ้งแคระจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่ากุ้งฝอยเล็กน้อย สีสันของไข่หลากหลายมาก แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ มีทั้งเหลือง, เขียว, ดำ, ฟ้า

เนื่องจากไข่มีขนาดใหญ่จึงทำให้จำนวนไข่มีปริมาณน้อย แต่ละครั้งแม่กุ้งจะโอบอุ้มไข่ประมาณ7-25ฟองเท่านั้น ไข่จะเกาะติดใต้ท้องแม่กุ้งและเริ่มพัฒนาเป็นตัวอ่อนภายใน28-33วัน ในช่วงสองอาทิตย์แรกไข่จะมีลักษณะกลมติดที่บริเวณขาใต้ท้องของแม่กุ้ง และยังไม่สามารถเห็นการพัฒนาของลูกกุ้ง ในอาทินย์ที่สามเป็นต้นไปไข่มีการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด เราจะเริ่มสังเกตเห็นจุดดวงตาของลูกกุ้งและลูกกุ้งจะเริ่มมีขาว่ายน้ำแต่ยังติดอยู่กะท้องแม่ ในช่วงนี้แม่กุ้งจะหาที่หลบซ่อนที่ปลอดภัย เช่น ใต้ขอนไม้ โคนต้นไมน้ำ หรือใต้เศษกระถาง เพราะฉนั้น ในตู้ควรมีที่หลบซ่อนให้เพียบพอต่อจำนวนของแม่พันธุ์ด้วย เมื่อแม่กุ้งพบที่หลบซ่อนที่ปลอดภัยมันจะปล่อยลูกน้อยให้ว่ายอย่างอิสระ เมื่อสังเกตว่าแม่กุ้งได้ปล่อยลูกน้อยออกจากหน้าท้องให้ว่ายอย่างอิสระแล้ว ควรปล่อยให้ลูกกุ้งเติบโตเองตามธรรมชาติ ไม่ต้องทำการแยกพ่อแม่กุ้งออก หรือดูดออกเพื่อแยกลูกกุ้งไปอนุบาล เพราะพ่อแม่กุ้งจะไม่กินลูกกุ้ง ลูกกุ้งจะกินอาหารเหมือนพ่อแม่ของมัน ช่วงนี้ไม่ควรให้อาหารสดเพราะอาจทำให้น้ำเน่าเสียได้ ซึ่งลูกกุ้งเหล่านี้กินไม่เยอะ เพียงแค่เศษเสี้ยวเล็กๆของปริมาณที่มีอยู่ ก็สามารถแบ่งปันถึงกุ้งจิ๋วๆได้อย่างทั่วถึง ลูกกุ้งเหล่านี้จะมีพัฒนาการและเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก เราสามารถสังเกตเห็นลูกกุ้งขึ้นมาเพ่นพ่านเกาะกระจกบริเวณหน้าตู้ได้อย่างชัดเจน หลังจากปล่อยลูกน้อยเป็นอิสระ แม่กุ้งจะเริ่มตั้งท้องใหม่ภายในสองอาทิตย์ และให้ลูกครอกใหม่ภายใน28-33วัน และลูกกุ้งจะเติบโตเป็นกุ้งโตเต็มวัยเมื่ออายุครบ3เดือน

วิธีเลือกซื้อกุ้งแคระ
1. กุ้งแคระที่แข็งแรงควรมีลำตัวสีสดใส ตลอดลำตัว ว่ายน้ำได้เป็นปกติ ไม่ว่ายควงสว่านไปมา ไม่ควรมีส่วนหนึ่งส่วนใดของลำตัวเป็นขาวขุ่นหรือสีแดง เพราะแสดงถึงบริเวณเนื้อที่ตายแล้วนั่นเอง
2. กุ้งแคระควรจะแสดงพฤติกรรมหาอาหารตลอดเวลา คือจะใช้ก้ามคู่น้อยๆคีบไปตามขอนไม้ ดงชวามอส หรือตามกรวดทรายรองตู้เก็นเศษอาหารใส่ปากอยู่ตลอดเวลา
3. หลังจากซื้อแล้ว ควรใส่พรรณไม้น้ำลงไปในถุงเล็กน้อย เพื่อให้กุ้งแคระเกาะยึด ป้องกันการกระทบกระเทือนในกรณีที่ต้องเดินทางไกล บ่อยครั้งที่มันกพบว่ากุ้งแคระจะเกาะกันเองเป็น    ก้อนใหญ่เมื่อไม่มีวัสดุสำหรับยึดเกาะ อาจเป็นเหตุให้กุ้งแคระ                                                                                                                   ตัวที่อ่อนแอเสียชีวิตได้ง่าย
Credit http://aqua.c1ub.net

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

CRAYFISH


เครฟิชคืออะไร ?


เครฟิช(Crayfish)ชื่อสามัญภาษาอังกฤษใช้เรียกกุ้งน้ำจืดจำพวกหนึ่งมีรูปร่างโดยรวมลำตัวใหญ่ เปลือก
หนาก้ามใหญ่แลดูแข็งแรงมีถิ่นกำเนิดในทวีป   อเมริกาเหนือ,ทวีปยุโรป,โอเชียเนียและบริเวณใกล้เคียงเช่นอีเรียน จายา และเอเชียตะวันออก ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานเครฟิชไปแล้วกว่า 500 ชนิดซึ่งกว่าครึ่ง
นั้นมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือแต่ก็ยังมีอีกหลายร้อยชนิดที่ยังไม่ได้รับการอนุกรมวิธานอีกทั้งหลาย
ชนิดยังมีความหลากหลายทางสีสันมากอีกด้วย(variety)สำหรับในประเทศไทยไม่มีกุ้งในลักษณะเครฟิช
ซึ่งกุ้งน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่สุดที่พบในประเทศไทยคือ กุ้งก้ามกราม(Macrobrachium rosenbergii)
ซึ่งในลักษณะกุ้งก้ามกรามนี้ ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษจะเรียกว่า prawn

เครฟิชนั้นสามาถแบ่งออกได้เป็น 2วงศ์ใหญ่ๆดังนี้
 
• Astacoidea ซึ่งเป็นวงศ์ใหญ่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป สามารถแบ่งเป็นวงศ์ย่อยได้อีก 2 วงศ์คือ Astacidae และ Cambaridae โดยในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกาเหนือมีการค้นพบเครฟิชมากกว่า 330 ชนิด ใน 9 สกุล ทั้งหมดอยู่ในวงศ์ Cambaridae ส่วนวงศ์ Astacidae พบในแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ เครฟิชจำนวนมากพบในที่ราบต่ำที่อุดมไปด้วยแคลเซียมและออกซิเจนที่ผุดออกมาจากน้ำพุใต้ดิน
เครฟิชชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีในวงศ์นี้คือ Procambarus clarkii โดยรวมแล้วเครฟิชในวงศ์นี้ มีรูปร่างใหญ่ ไม่มีกรี มีลักษณะเด่นคือ ก้ามมีหนาม ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร


• Parastacoidea ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคโอเชียเนียและอีเรียน จายามีการค้นพบเครฟิชมากกว่า 100 ชนิดในภูมิภาคนี้ เครฟิชที่เป็นที่รู้จักได้แก่สกุล Cherax หรือในบ้านเรานิยมเรียกว่ากุ้งสาย C ได้แก่ Cherax tenuimanus, Cherax quadricarinatus, Cherax destructor, Cherax preissii ฯลฯ เครฟิชในวงศ์นี้ก้ามจะไม่มีหนาม และลักษณะของก้ามจะป่องออกต่างไปจากวงศ์Astacoideaแต่มีที่หนีบสั้นและเล็กกว่า ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30-40 เซนติเมตร

กุ้งเครย์ฟิชที่วัยรุ่นนิยมเลี้ยง


คือ กุ้งเครย์ฟิช สโนไวท์ จะเป็นกุ้งสีขาว บลูสปอร์ตเป็นสีฟ้า ไบรต์ออเรนจ์สีส้ม และอะเรนนี่สีน้ำเงิน ราคาที่จำหน่ายในท้องตลาดมีตั้งแต่ 300-2,000 บาท ต่อตัว แต่หากซื้อไปเลี้ยงเป็นคู่ โดยเฉพาะกุ้งเครย์ฟิชสีน้ำเงินหรืออะเรนนี่ จำหน่ายคู่ละ 3,500บาท เพราะสีน้ำเงินเป็นสีที่                 นิยมและหายากในขณะนี้ สำหรับผู้อ่านที่สนใจเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชสามารถหาซื้อได้ตามตลาดสัตว์น้ำทั่วไปเมื่อต้องการเลือกซื้อ
มาเลี้ยงต้องดูความแข็งแรงของตัวกุ้งด้วย หากเห็นว่ากุ้งนั้นไม่ปราดเปรียวหรือเชื่องช้า ก็อย่าเลือกซื้อมาเลี้ยง เพราะเป็นกุ้งที่ไม่แข็งแรง ถ้านำมาเลี้ยง อยู่ได้ไม่นานก็อาจตายได้ ดังนั้น จึงควรเลือกซื้อกุ้งตัวที่มีสีเข้มทั้งตัว ไม่มีอาการเซื่องซึม ก้ามทั้ง 2 ข้าง ต้องเท่ากัน มีขาครบทุกข้าง และที่สำคัญอย่าลืมให้ความรัก ความใส่ใจกับสัตว์เลี้ยงด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
Credit http://student.nu.ac.th


วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การเลือกซื้อกุ้งเครฟิช


การเลือกซื้อกุ้งเครฟิช

ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อกุ้งเครฟิช

1. เลี้ยงกุ้งเครฟิชพันธุ์ไหนดี


เครฟิชมีหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องรูปร่าง ลักษณะนิสัย ถิ่นกำเนิด รวมถึงอุณหภูมิและค่าน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยง สำหรับผู้เลี้ยงมือใหม่ควรเริ่มต้นจากสายพันธุ์ที่สามารถเพาะได้ในบ้านเราก่อน เพราะได้ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในเมืองไทยแล้ว เช่น บูลล็อบสเตอร์ (Cherax quadricarinatus), ไบร์ท ออเรนจ์ (Procambarus clarkii), บลู อัลเลนี่ (Procambarus alleni) ฯลฯ

 2. ควรเลี้ยงเพศผู้หรือเพศเมีย

โดยทั่วไปแล้วรูปร่างของเครฟิชเพศผู้และเพศเมียจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย โดยเพศผู้จะมีก้ามใหญ่กว่าและมีสีสันสวยงามกว่าเพศเมีย ส่วนความแตกต่างทางด้านลักษณะนิสัย เพศผู้จะก้าวร้าวและดุร้ายกว่าเช่นกัน ในการเริ่มต้นเลี้ยงสำหรับตู้ขนาด 24 นิ้ว ไม่ควรเลี้ยงเกิน 2 ตัว อาจเป็น ผู้-เมีย หรือ เมีย-เมีย แต่ไม่แนะนำให้เลี้ยง ผู้-ผู้ เพราะอาจมีการต่อสู้แย่งชิงอาณาเขตจนเกิดการสูญเสีย
3. ซื้อจากแหล่งไหน
 ถึงแม้ว่าตอนนี้กลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งเครฟิชจะยังมีไม่มากนักแต่ก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้เลี้ยงสามารถหาซื้อเครฟิชได้จากร้านค้าที่สวนจตุจักร, จตุจักรมีนบุรี, ตลาดสนามหลวง2 ฯลฯ นอกจากนี้ยังสามารถซื้อจากฟาร์มหรือผู้เลี้ยงด้วยกันเอง อย่างไรก็ตามควรเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ หากเป็นกุ้งเครฟิชนำเข้าก็ควรมีการพักเพื่อปรับสภาพแวดล้อมแล้วอย่างน้อย 1-2 เดือนก่อนขาย ส่วนการซื้อจากผู้เลี้ยงด้วยกันเองนั้นมีข้อดีตรงได้ราคาถูกกว่า ผู้ขายบางรายอาจเปิดให้เข้ามาเลือกซื้อที่บ้านได้ด้วย สำหรับข้อเสียก็คือมีโอกาสได้กุ้งที่มีสายเลือดชิด
               4. ขนาดและอายุ
 ผู้เลี้ยงมือใหม่ควรเริ่มต้นเลี้ยงขนาด 1-1.5 นิ้ว หรืออายุประมาณ 1-2เดือน เนื่องจากราคาไม่แพงและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีกว่ากุ้งที่โตแล้ว
สนิมติดอยู่ มีอาการซึม ไม่ยอมกินอาหาร ซึ่งอาจสะสมสารอาหารไม่เพียงพอจนเป็นสาเหตุของการลอกคราบไม่ผ่านและตายลงในที่สุด

5. สุขภาพของกุ้งเครฟิชในเลือกซื้อ
การเลือกซื้อควรเลือกคำนึงถึงสุขภาพของเครฟิชด้วย เครฟิชที่แข็งแรงจะไม่มีอาการไม่ซึม หากลองเอาไม้เขี่ยจะชูก้ามขึ้นป้องกันตัว ลำตัวต้องไม่มีแผล ก้ามทั้งสองข้างขนาดเท่ากัน มีมือจับอาหารและขาทุกข้างอยู่ครบ ดวงตาสมบูรณ์ไม่ขาดแหว่ง นอกจากนี้ผู้เลี้ยงควรตรวจดูว่าเป็นโรคสนิมหรือไม่ โดยกุ้งเครฟิชที่เป็นโรคสนิมนั้นเปลือกจะมีสีคล้ายสนิมติดอยู่ มีอาการซึม ไม่ยอมกินอาหาร ซึ่งอาจสะสมสารอาหารไม่เพียงพอจนเป็นสาเหตุของการลอกคราบไม่ผ่านและตายลงในที่สุด



อาหารสำหรับเครฟิช



อาหารสำหรับเครฟิช

เครฟิชเป็นสัตว์ที่กินอาหารได้แทบทุกชนิด ทั้งอาหารเม็ด, อาหารสด หรือแม้กระทั่งผักสดในตู้เย็น

อาหารเม็ด
1. TetraBits Complete













อาหารสำหรับปลาปอมปลาดัวร์ที่นิยมนำมาเลี้ยงเครฟิช เนื่องจากมีคุณสมบัติที่โดดเด่นในเรื่องการเร่งสีสัน แต่มีจุดด้อยคือ มีปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอสำหรับเครฟิช ควรให้อาหารเสริมแคลเซียม เช่น ลิ้นทะเล แคลเซียมน้ำ ฯลฯ ควบคู่กันไปด้วย

2. Kanshu Lobster

มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ จมน้ำ ตรงกับพฤติกรรมการกินอาหารของกุ้ง ทำให้น้ำไม่เน่าเสียง่าย
ช่วยเร่งการเจริญเติบโตและกระตุ้นการลอกคราบของกุ้งอย่างต่อเนื่อง
เพิ่มสีสันในกุ้งให้สดใส สวยงาม ด้วยสารอาหาร Astaxanthin
มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะแก่กุ้งสวยงามทุกชนิด เพิ่มความแข็งแรงให้ก้ามและตัวกุ้งจากแร่ธาตุและวิตามิน
มีส่วนผสมของสารแคโรทีนอยด์ช่วยในการเร่งสี แคลเซียม แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส ช่วยในการเสริมสร้างเปลือกให้แข็งแรง

3. Oceanfree SuperCrustaNorish

อาหารสำหรับกุ้งสวยงามทุกชนิด อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์สำหรับกุ้ง มีส่วนผสมของกุ้งป่น, สไปรูไลน่า, ปลาป่นคุณภาพสูง, แคลเซียม, แร่ธาตุ, มัลติวิตามิน, โปรตีน, เอ็นไซน์, ไข่แดง, เชื้อจุลินทรีย์ข้าวสาลี และอื่นๆ
แคลเซียมช่วยในการสร้างเปลือก และลอกคราบ
เร่งการเจริญเติบโต และวิตามินบำรุงสุขภาพ
วิตามินช่วยในการเร่งสีให้เข้มสวยขึ้น
มีแร่ธาตุครบถ้วน

4. TetraCrusta Menu
อาหารสำหรับกุ้งสวยงาม ประกอบไปด้วยคุณค่าทางสารอาหารที่ครบถ้วนสำหรับกุ้ง ใน 1 ขวดบรรจุอาหาร 4 สูตร ได้แก่ Stick ,Wafer ,Crisp , Granule ให้สารอาหารที่หลากหลาย


ผักสดและผักลวก
ผักชนิดต่าง ๆ นำมาเลี้ยงเครฟิชได้เช่นกัน โดยเฉพาะผักที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูงซึ่งมีคุณสมบัติในการเร่งสีสัน ผักที่นำมาให้เครฟิชกินควรล้างให้สะอาดปราศจากยาฆ่าแมลง โดยสามารถให้ได้ทั้งผักสดและผักลวก ผักที่นิยมนำมาเลี้ยงได้แก่ แครอท, ฝักทอง, หน่อไม้ฝรั่ง, ผักบุ้ง, สาหร่าย ฯลฯ



อาหารสดอื่น ๆ
อาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์ เช่น กุ้งฝอย, ไรแดง, หนอนแดง,เนื้อปลาสด ฯลฯ ให้โปรตีนและมีคุณค่าทางอาหารสูง แต่ก็มีข้อเสียคือ ทำให้น้ำเน่าเสียง่าย และมีพยาธิหรือปรสิตที่เป็นอันตรายต่อเครฟิช






 
อาหารเสริมและวิตามิน

1. ไคโตซาน
สารสกัดจากเปลือกกุ้งเป็นสารโพลิเมอร์ชีวภาพที่สกัดจากธรรมชาติ 100% จึงไม่เป็นอันตราย ไม่มีพิษตกค้าง เหมาะสำหรับผสมอาหารสัตว์ หรือผสมน้ำให้สัตว์กิน

ประโยชน์
คลุกเคลือบอาหารกุ้ง ทำให้อาหารละลายช้า (มากกว่า 12 ชั่วโมง) ลดการสูญเสียอาหาร และช่วยให้น้ำไม่เน่าเสีย
เป็นสารตั้งต้นในการสร้างเนื้อเยื้อ และเปลือกกุ้ง ช่วยให้ลอกคราบดี เติบโตเร็ว
จับตรึงสารพิษในน้ำ ช่วยให้น้ำดีอยู่เสมอ และช่วยยับยั้งเชื้อราในอาหารสัตว์
เร่งการเจริญเติบโต ช่วยให้สัตว์แข็งแรงมีภูมิต้านทานโรค
2. วิตามินน้ำ (ViiTA)

ช่วยให้กุ้งเจริญเติบโต มีสีสันสวยงาม สุขภาพแข็งแรง บำรุ่งเชื้อทำให้ติดไข่มาก ลดความเครียดและอันตรายจากการลอกคราบ ผสมลงในตู้ 5cc ต่อน้ำ 100ลิตร

3. แคลเซียมน้ำ (CalLiquid)

สำหรับเพิ่มแคลเซียมในน้ำหรือผสมอาหาร ช่วยสร้างเปลือกให้แข็งแรง ลอกคราบง่าย เพิ่มอัตราการรอดจากการลอกคราบ ผสมลงในตู้ 1cc ต่อน้ำ 5ลิตร

4. ลิ้นทะเลหรือกระดอกปลาหมึก

ลิ้นทะเลหรือกระดอกปลาหมึกเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีและราคาถูก นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้เครฟิชกิน
*** เคล็ดลับ การลวกน้ำร้อนหรือนำไปต้มจะช่วยให้ลิ้นทะเลจมน้ำ ***

หินแร่
นิยมใส่ลงไปในตู้ที่เลี้ยงเครฟิช ช่วยเพิ่มแร่ธาตุในน้ำ
หินทิดิไมท์ มีคุณสมบัติช่วยในการลอกคราบ เสริมแคลเซียม
หินเกรย์สโตน มีคุณสมบัติช่วยให้เปลือกกุ้งแข็งแรงหลังการลอกครา







Credit http://student.nu.ac.th

อุปกรณ์ในการเลี้ยงเครฟิช

อุปกรณ์ในการเลี้ยงเครฟิช



 1. ตู้ปลาหรืออ่าง

แนะนำตู้ขนาด 24 นิ้วสำหรับการเลี้ยง 1 คู่ เนื่องจากเครฟิชตัวเล็ก ๆ ที่คุณซื้อมาในตอนแรกนั้นจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลา 2-3 เดือน เครฟิชมีอุปนิสัยค่อนข้างก้าวร้าวและหวงถิ่นที่อยู่อาศัย จึงมักต่อสู้เพื่อป้องกันอาณาเขตของตนเองอยู่เสมอ ไม่ควรเลี้ยงรวมกันอย่างหนาแน่นในตู้เดียว หากต้องการเลี้ยงหลายตัวรวมกันควรใช้ตู้ขนาดใหญ่และจัดให้มีที่หลบภัยเพียงพอ เช่น ถ้ำ ขอนไม้ กระถาง ฯลฯ โดยตู้ขนาด 48 นิ้ว สามารถเลี้ยงได้ 2-3 คู่



2. วัสดุรองพื้น
การปูวัสดุรองพื้นจะช่วยให้เครฟิชสามารถเดินไปมาได้สะดวก และยังช่วยกักเศษอาหารต่าง ๆ ไม่ให้ฟุ้งกระจายอีกด้วย สามารถใช้หินรองพื้นสำหรับการเลี้ยงปลาทั่วไป ซึ่งมีให้เลือกซื้อหลายสีหลายชนิด สีของหินที่ใช้ปูพื้นนั้นมีผลต่อสีสันของเครฟิชด้วยเช่นกัน เนื่องจากเครฟิชสามารถปรับสีให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ถ้าอยากให้สีเข้ม ๆ แนะนำให้ใช้หินนิลดำรองพื้นครับ


 






3. บ้านเครฟิช
เครฟิชจำเป็นต้องมีบ้านไว้สำหรับหลบซ่อน โดยเฉพาะในช่วงที่มีการลอกคราบใหม่ ๆ จะเป็นช่วงที่อ่อนแอที่สุด เนื่องจากเปลือกยังไม่แข็งตัว หากเกิดการปะทะต่อสู้กันในช่วงนี้อาจทำให้เสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะต่าง ๆ ดังนั้นควรจัดหาบ้านให้เพียงพอกับจำนวนเครฟิช วัสดุที่นำมาใช้เป็นบ้านมีหลายอย่าง เช่น ท่อ PVC, กระถางดินเผา, กะละมะพร้าว ฯลฯ


4. ขอนไม้
ขอนไม้นอกจากจะช่วยเพิ่มความสวยงามภายในตู้แล้ว ยังเป็นที่หลบภัยอย่างดีสำหรับเครฟิช ในกรณีที่เกิดการต่อสู้กันฝ่ายที่เพลี่ยงพล้ำจะสามารถดีดตัวหนีขึ้นไปเกาะบนขอนไม้ และขอนไม้ยังเป็นที่สำหรับใช้ในการลอกคราบได้อีกด้วย การเลือกซื้อขอนไม้ควรเลือกชนิดที่จมน้ำแล้ว(ผ่านการแช่น้ำมา2-3เดือน) เพราะจะไม่ทำให้น้ำในตู้เหลือง เครฟิชเป็นนักกายกรรมชอบปีนป่าย ขอนไม้ที่ใช้ไม่ควรสูงหรือยาวเลยตู้จนเครฟิชสามารถปืนหลบหนีออกมาได้ กว่าจะหาเจอก็อาจพบว่ามันนอนแห้งตายไปซะแล้ว


 5. ปั๊มออกซิเจน

ใช้ร่วมกับหัวทรายหรือกรองกระปุก มีให้เลือกหลายยี่ห้อ แนะนำให้ใช้ของคุณภาพดีสักหน่อยเพราะต้องทำงานตลอดเวลา อาจขอให้ทางร้านทดลองเปิดเปรียบเทียบกันหลาย ๆ ตัวปั๊มออกซิเจนที่ดีเวลาทำงานจะต้องไม่สั่นสะเทือนมากนัก ให้ลมแรง และเสียงเงียบ ให้ลองสัมผัสปุ่มยางรองที่ฐานของปั๊มออกซิเจน เนื้อยางจะต้องนิ่มไม่แข็งกระด้าง สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนได้ดี
 6. ระบบกรอง

สำหรับผู้เลี้ยงเริ่มต้น แนะนำให้ใช้กรองกระปุกร่วมกับปั๊มออกซิเจน เพราะหาซื้อได้ง่ายและอุปกรณ์ไม่ซับซ้อน ภายในกรองกระปุกจะบรรจุใยฟองน้ำไว้สำหรับกรองเศษอาหาร ในกรองกระปุกบางรุ่นอาจใส่ไบโอบอลหรือวัสดุกรองชนิดอื่นมาให้ด้วย การต่อสายปั๊มลมเข้ากับกรองกระปุกควรหาอะไรมาปิดฝาตู้เอาไว้ ป้องกันไม่ให้เครฟิชปืนสายออกซิเจนออกมาภายนอก










7. จานอาหาร

การใช้จานอาหารจะช่วยไม่ให้เศษอาหารกระจัดกระจายตามพื้นตู้ สามารถใช้จานรองแก้วมาทำเป็นจานอาหารได้ ควรล้างทำความสะอาดทุก 2-3 วัน




8. โคมไฟ

โคมไฟสำหรับเพิ่มแสงสว่างเพื่อความสวยงาม หากจุดที่วางตู้มีแสงเพียงพอก็ไม่จำเป็นต้องใช้





















Credit http://student.nu.ac.th